Ratchaphruek Physical Therapy Clinic
  • หน้าแรก
  • บทความน่ารู้
  • โปรแกรมการรักษา
  • มุมประหยัด
  • ติดต่อคลินิก

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome )

5/10/2014

0 Comments

 
Picture








กภ.สุพรรณี ใจวงศ์ศรี
ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด

Picture
ในยุคปัจจุบันมีการใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์เกือบทุกวัน ทำให้ใช้ข้อมือมากเกินไป เมื่อรู้สึกตัวอีกทีก็มีอาการปวดข้อมือ ชานิ้ว หรือปวดแปล๊บที่นิ้วมือ อาการที่กล่าวมานี้คืออาการของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ

โรค Carpal Tunnel Syndrome หรือชื่อย่อคือ CTS เป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากเส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อบริเวณแขน และมือ และรับความรู้สึก บริเวณฝ่ามือ นิ้วโป้ ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง เส้นประสาทนี้จะเดินทางตั้งแต่บริเวณต้นคอจนถึงปลายนิ้วมือ ซึ่งบริเวณข้อมือนั้น จะต้องลอดช่องอุโมงค์ที่เรียกว่า Carpal Tunnel เมื่ออุโมงค์นี้เกิดการแคบลงจากสาเหตุต่างๆ เช่นการอักเสบ การบวมน้า หรือมีสิ่งอื่นมากดทับ ก็จะเป็นผลให้เส้นประสาทมีเดียนถูกกดทับ

สาเหตุของการเกิดโรค

1. การใช้งานข้อมือในท่าเดิม ๆ อย่างเช่นคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องใช้เมาส์ โดยใช้ข้อมือเป็นจุดหมุน การกดแป้น คีย์บอร์ด การเย็บผ้า การขับรถ
2. การใช้ข้อมือที่มีการงอมือเป็นเวลานาน เช่น การกวาดบ้านนาน ๆ การรีดผ้า การหิ้วถุงที่มีการงอข้อมือ
3. การทำงานที่มีการใช้ข้อมือกระดกขึ้นและการสั่นกระแทก เช่น ช่างฝีมือประเภทต่าง ๆ พนักงานโรงงาน งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้างหรืองานคอนกรีต
4. การที่พังผืดหนาตัวมากขึ้น จากสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น

อาการแสดงและการเกิดโรค

1. ปวด ชาบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือจะมีอาการข้างเคียงหรือทั้ง 2 ข้าง มักจะมีอาการเด่นชัดในมือข้างที่ถนัดโดยเฉพาะนิ้วโป้ง
ชี้ กลาง และนิ้วนางครึ่งนิ้ว
2. อาการอ่อนแรงของมือ และนิ้วมือ เช่น กำมือได้ไม่แน่น หยิบจับของแล้วหล่นง่าย ถ้าไม่รีบรักษา จะสังเกต เห็นกล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ บางครั้ง อาจพบว่ามีอาการมากขึ้นในตอนกลางคืนบางครั้งผู้ป่วยอาจตื่นขึ้นมาเนื่องจากอาการปวด แต่เมื่อสะบัดข้อมือ แล้วมีอาการดีขึ้น

การวินิจฉัยทางกายภาพบาบัด

Picture
1. ใช้การทดสอบ ที่เรียกว่า Tinel's test โดยการเคาะบริเวณตรงกลางข้อมือซึ่งเป็นบริเวณที่เส้นประสาท median nerve ผ่าน จะมีอาการปวดหรือลักษณะไฟช็อต ร้าวไปที่นิ้วมือ การทดสอบนี้มีความไว40-60% มีความจาเพาะ70-94%

Picture
2. การตรวจ Phalen's test คือให้งอข้อมือ 90 องศาเป็นเวลา 1 นาที ผู้ป่วยจะมีอาการชา หรืออาการปวดบริเวณฝ่ามือและนิ้วมือ

แนวทางการรักษา

1. หลีกเลี่ยงการกระดกข้อมือขึ้นลงในกิจวัตรประจาวัน โดยการเปลี่ยนมาใช้ข้อศอกหรือข้อไหล่ในการทำกิจกรรมต่างๆ แทนเช่น การกวาดบ้าน การแปรงฟัน ฯลฯ เพื่อลดอาการอักเสบบริเวณข้อมือ
2. การทำกายภาพบาบัด เช่น การทำอุลตร้าซาวด์ การบริหารมือ ซึ่งจะได้ผลดีในผู้ที่เริ่มต้นมีอาการไม่มาก
3. การรักษาด้วยยาและการผ่าตัด


ออกกำลังกำยเพิ่มกำรเคลื่อนใหวของเอ็นกล้ำมเนื้อ (tendon gliding exercise)
ด้วยความปรารถนาดีจาก
ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด
เพราะคุณคือคนสำคัญ ที่เราต้องดูแล

Referrence
1. ปราณี ทู้ไพเราะ. คู่มือโรค. กรุงเทพฯ : N P Press Limited Partnership, 2552.
2. ณัฏฐ์ชัย จิตต์ธรรมวาณิช. โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome . [database on the internet]. ladprao hospital homepage. Available from: http://www.ladpraohospital.com/lph_site2/healthKnowledgesDetail.php?txtID=15. (8 พฤษภาคม 2557)
3. ทิพวรรณ สิทธิ. Carpal tunnel syndrome (โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ). [database on the internet]. Available from: http://www.pt.mahidol.ac.th/ptclinic/index.php?option=com_content&view=article&id=305:carpal-tunnel-syndrome&catid=55:2009-03-13-03-23-09&Itemid=111&showall=1. (8 พฤษภาคม 2557)
4. สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์. โรคกลุ่มอาการประสาทมือชา (carpal tunnel syndrome). [database on the internet]. Available from: http://www.vichaiyut.co.th/jul/23_03-2545/23_03-2545_P13-14.pdf
5. ธนินนิตย์ ลีรพันธ์. การออกกาลังกายในผู้ที่มีภาวะ Carpal tunnel syndrome. [database on the internet]. Available from: http://www.taninnit.com/index.php?option=com_content&view=article&id=89&Itemid=500

0 Comments

Your comment will be posted after it is approved.


Leave a Reply.

    Author

    ราชพฤกษ์คลินิกกายภาพบำบัด

    Archives

    May 2019
    October 2018
    June 2018
    July 2016
    June 2016
    March 2016
    January 2015
    May 2014
    March 2014
    December 2013
    September 2013
    August 2013
    July 2013
    December 2012

    Categories

    All

    RSS Feed

Powered by Create your own unique website with customizable templates.